ภาวะโลกร้อน Global Warming

on 2009-08-07

ภาวะโลกร้อน Global Warming

ภาวะโลกร้อนภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 - 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น

ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี หลักๆก็เห็นจะเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย และแต่ละขั้นตอนก็จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆ และอื่นๆอีกมากมาย

การปลูกต้นไม้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อย่างที่เรารู้กันดีว่าในเวลากลางวัน ต้นไม้นั้นจะช่วยหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และหายใจออกมาเป็นก๊าซออกซิเจน เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยแท้ แต่ทว่าปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก ฉะนั้นถ้าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ ก็เหมือนกับช่วยเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา

บทความภาวะโลกร้อนล่าสุด

  • ภาวะโลกร้อน กับ โรงเรียน เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้าเพราะฉะนั้นเราควรปลูกฝังพฤติกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการลดภาวะโลกร้อนให้กับพวกเด็กๆ เพื่อที่วันข้างหน้าเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ จะได้ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ต่อไป
    .
  • ลดภาวะโลกร้อนฤดูหนาว หน้าหนาวนี้เรามาช่วยกันปิดแอร์เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนกันดีไหมครับ ด้วยอากาศที่เย็นสบายแบบนี้แค่เราเปิดหน้าต่างรับอากาศเย็นๆจากธรรมชาติก็น่าจะพอไม่เพียงแต่จะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าไฟของบ้านท่านอีกด้วย การที่เราเปิดเครื่องปรับอากาศขนาด 12000 บีทียู 1 ชั่วโมง กินไฟเป็นเงินถึง 17.5 บาท
    .
  • ภาวะโลกร้อนจะทำให้กรุงเทพจมทะเล ภาวะโลกร้อนนั้นกำลังส่งผลทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายลงอย่างเร็วมากเมื่อน้ำแข็งละลายทำให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติเป็นอย่างมากและผลกระทบโดยตรงเลยก็คือทำให้ระดับน้ำทะเลนั้นสูงขึ้นจากปกติ ทั่วโลกก็จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้อย่างแน่นอนโดยเฉพาะประเทศที่มีความสูงจากน้ำทะเลไม่มากนัก รวมทั้งประเทศไทยของเราก็จะถูกน้ำท่วมหายไปเป็นบางส่วนด้วย ในอนาคตกรุงเทพมหานครก็จะจมไปอยู่ใต้ทะเลอย่างแน่นอน
  • ภาวะโลกร้อนกับก๊าซมีเทนใต้น้ำแข็ง ผมมีโอกาสได้ดูรายการจับเข่าคุยตอนที่ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านมาเป็นแขกรับเชิญ และก็ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจมากอยู่หลายเรื่อง วันนี้ผมขอยกเอาเรื่องของก๊าซมีเทนที่พบอยู่เป็นจำนวนมากในแถบเหนือของโลกมาเขียนเพื่อให้เพื่อนๆอ่านกันนะครับ
    .
  • ภาวะโลกร้อน กับ ขยะ การที่เราทิ้งขยะทุกประเภทรวมกันโดยไม่แยกนั้นทำให้ขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (Reuse) และขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ (Recycle) ถูกทิ้งรวมไปกับขยะเปียกทั้งหลาย และอาจจะไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก และที่อันตรายมากก็คือขยะที่เป็นสารพิษ พวกบรรจุภัณฑ์สารเคมี กระป๋องยาฉีดกันยุง พวกหลอดไฟซึ่งมีสารเคมีฉาบไว้ ถ่านไฟฉาย เหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากๆ ถ้าเราเอาทิ้งไปรวมกับขยะอื่นๆโดยที่ไม่แยก สารเคมีก็จะไหลลงสู่พื้นดิน ถ้าถูกเผาก็จะเป็นก๊าซพิษลอยขึ้นไปในอากาศ
    .
  • ภาวะโลกร้อน กับ ยุงลาย ภาวะโลกร้อน กำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทำให้บางสายพันธุ์ที่แข็งแกร่งไม่พอสูญพันธุ์ไปจากโลกใบนี้ได้ แต่ดูเหมือนบางสายพันธุ์ไม่ได้หวั่นเกรงต่อภาวะโลกร้อนนี้เลย แต่กลับยิ่งขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น และยังร้ายมากขึ้นอีกด้วย ..โชคไม่ดีที่สายพันธุ์ที่ผมกำลังพูดถึงนั้นก็คือเจ้ายุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ที่คอยคร่าชีวิตมนุษย์อย่างพวกเรานี่เอง
ที่มา : greentheearth.info

วิธีลดโลกร้อน

on 2009-06-19

วิธีลดโลกร้อน

1.ลดการใช้พลังงานในบ้านด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ 1 พันปอนด์ต่อปี


2.ลดการสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมาด้วยการดึงปลั๊กออก หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง

3.เปลี่ยนหลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า Compact Fluorescent Lightbulb (CFL) เพราะจะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปีมาก

4.เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40% สามารถหาซื้อหลอดไฟ LED ที่ใช้สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและตั้งพื้นได้ด้วย จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้มีแสงสว่างส่องทาง เช่น ริมถนนหน้าบ้าน การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 ปอนด์ต่อปี

5.ช่วยกันออกความเห็นหรือรณรงค์ให้รัฐบาลพิจารณาข้อดีข้อเสียของการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนกับภาคการผลิต ตามอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบต่างๆ หรือการใช้ก๊าซโซลีน เป็นรูปแบบการใช้ภาษีทางตรงที่เชื่อว่า หากโรงงานต้องจ่ายค่าภาษีแพงขึ้นก็จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิตลง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2 ลงได้ประมาณ 5%

6.ขับรถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง ด้วยการปั่นจักรยาน ใช้รถโดยสารประจำทาง หรือใช้การเดินแทนเมื่อต้องไปทำกิจกรรมหรือธุระใกล้ๆ บ้าน เพราะการขับรถยนต์น้อยลง หมายถึงการใช้น้ำมันลดลง และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย เพราะน้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 20 ปอนด์7.ไปร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool นัดเพื่อนร่วมงานที่มีบ้านอาศัยใกล้ๆ นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน ช่วยประหยัดน้ำมัน และยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมด้วย

8.จัดเส้นทางรถรับส่งพนักงาน ถ้าในหน่วยงานมีพนักงานจำนวนมากอาศัยอยู่ในเส้นทางใกล้ๆ กัน ควรมีสวัสดิการจัดหารถรับส่งพนักงานตามเส้นทางสำคัญๆ เป็น Car Pool ระดับองค์กร

9.เปิดหน้าต่างรับลมแทนเปิดเครื่องปรับอากาศ ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ไฟฟ้าเพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ

10.มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะการจะได้ใบรับรองนั้น จะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ

11.ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้าน แทนการช็อปปิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ที่อาหารสดทุกอย่างมีการ***บห่อด้วยพลาสติกและโฟม ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก

12.เลือกซื้อเลือกใช้ เมื่อต้องซื้อรถยนต์ใช้ในบ้าน หรือรถยนต์ประจำสำนักงานก็หันมาเลือกซื้อรถประหยัดพลังงาน รวมทั้งเลือกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟ ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน

13.เลือกซื้อรถยนต์ที่มีขนาดตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน รวมทั้งพิจารณารุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อเปรียบเทียบราคา

14.ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเลือกรถโฟว์วีลขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ เพราะกินน้ำมันมาก และตะแกรงขนสัมภาระบนหลังคารถก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักรถให้เปลืองน้ำมัน

15.ขับรถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้ 20% หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ใช้งานราว 3 หมื่นกิโลเมตรต่อปี

16.ขับรถเที่ยวไปลดคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกัน เพราะมีบริษัทเช่ารถใหญ่ๆ 2-3 รายมีรถรุ่นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้เอทานอล หรือน้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ ด้วย ลองสอบถามบริษัทรถเช่าเมื่อเดินทางไปถึง

17.เลือกใช้บริการโรงแรมที่มีสัญลักษณ์สิ่งแวดล้อม เช่น มีมาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน และมีระบบจัดการของเสีย มองหาป้ายสัญลักษณ์ เช่น โรงแรมใบไม้สีเขียว มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ

18 เช็กลมยาง การขับรถที่ยางลมมีน้อยอาจทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึง 3% จากภาวะปกติ

19.เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ให้มากขึ้น

20.โละทิ้งตู้เย็นรุ่นเก่า ตู้เย็นที่ผลิตเมื่อ

10 กว่าปีที่แล้ว เพราะใช้ไฟฟ้ามากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟลงได้มาก และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กิโลกรัมต่อปี

21.ยืดอายุตู้เย็นด้วยการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานให้ตู้เย็นด้วยการใช้อย่างฉลาด ไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น หลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร ควรย้ายตู้เย็นออกจากห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์

22.ริเริ่มใช้พลังงานทางเลือกในอาคารสำนักงาน เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉพาะจุด

23.ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า

24.ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาลต่างๆ ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด และดำเนินการจัดส่งไปยังอาคารบ้านเรือน

25.ติดตั้งฝักบัวอาบน้ำที่ปรับความแรงน้ำต่ำๆ ได้ เพื่อจะได้เปลืองน้ำอุ่นน้อยๆ (เหมาะทั้งในบ้านและโรงแรม)

26.ติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากโรงผลิตกระแสไฟฟ้า

27.สร้างนโยบาย 3Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด

28.ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่นๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

29.ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน

30.นำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน โดยใช้การออกแบบบ้าน และตำแหน่งของช่องแสงเป็นปัจจัย ซึ่งจะช่วยลดจำนวนหลอดไฟและพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้

31.ปลูกต้นไม้ในสวนหน้าบ้าน ต้นไม้ 1 ต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน

32.ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็ว เป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี33.ใช้ร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดความร้อนในตัวอาคารสำนักงานหรือบ้านพักอาศัย ทำให้สามารถลดความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นการลดการใช้ไฟฟ้า

34.ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน

35.ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก เพราะถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และการเผากำจัดในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มในบรรยากาศ

36.เลือกซื้อสินค้าที่มี***บห่อน้อยๆ ***บห่อหลายชั้นหมายถึงการเพิ่มขยะ*กหลายชิ้นที่จะต้องนำไปกำจัด เป็นการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยไม่จำเป็น

37.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจาก***บห่อของบรรจุภัณฑ์

38.ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เพราะกระบวนการผลิตกระดาษแทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก

39.เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล กระดาษรีไซเคิลช่วยลดขั้นตอนหลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตกระดาษ

40.ตั้งเป้าลดการผลิตขยะของตัวเองให้ได้ 1 ใน 4 ส่วน หรือมากกว่า เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรและลดก๊าซเรือนกระจกได้*กจำนวนมาก เมื่อลองคูณ 365 วัน กับจำนวนปีที่เหลือก่อนเกษียณ

41.สนับสนุนสินค้าและผลิตผลจากเกษตรกรในท้องถิ่นใกล้บ้าน ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่ต้องขนส่งผลิตผลให้พ่อค้าคนกลางนำไปขายในพื้นที่ไกลๆ

42.บริโภคเนื้อวัวให้น้อยลง ทานผัก (ปลอดสารพิษ) ให้มากขึ้น ฟาร์มเลี้ยงวัว คือ แหล่งหลักในการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ หันมารับประทานผักให้มากขึ้น ทานเนื้อวัวให้น้อยลง

43.ทานสเต๊กและแฮมเบอร์เกอร์ในร้านใหญ่ๆ ให้น้อยลง เพราะอุตสาหกรรมเนื้อระดับนานาชาติ ผลิตก๊าซเรือนกระจกถึง 18% สาเหตุหลักก็คือไนตรัสออกไซด์จากมูลวัวและมีเทน ซึ่งถูกปลดปล่อยออกมาจากลักษณะทางธรรมชาติของวัวที่ย่อยอาหารได้ช้า (มีกระเพาะอาหาร 4 ตอน) มีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่า ในขณะที่ไนตรัสออกไซด์ก่อผลได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 296 เท่า

44.ชักชวนคนอื่นๆ รอบข้างให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาภาวะโลกร้อน ให้ความรู้ความเข้าใจและชักชวนคนใกล้ตัว รวมทั้งเพื่อนบ้านรอบๆ ตัวคุณ เพื่อขยายเครือข่ายผู้ร่วมหยุดโลกร้อนให้กว้างขวางขึ้น 45.ร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมในชุมชน แล้วลองเสนอกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และกระตุ้นให้เกิดการร่วมมือ เพื่อลงมือทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่อง และส่งผลให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

46.เลือกโหวตแต่พรรคการเมืองที่มีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน จริงใจ และตั้งใจทำจริง เพราะนักการเมืองคือคนที่เราส่งไปเป็นตัวแทนทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร โปรดใช้ประโยชน์จากพวกเขาตามสิทธิที่คุณมี ด้วยการเลือกนักการเมืองจากพรรคการเมืองที่มีนโยบายชัดเจนเรื่องสิ่งแวดล้อมและการลดปัญหาโลกร้อน

47.ซื้อให้น้อยลง แบ่งปันให้มากขึ้น อยู่อย่างพอเพียง เกษตรกร ชาวสวน ชาวไร่ ชาวนาก็สามารถช่วยได้ด้วยการ

48.ลดการเผาป่าหญ้า ไม้ริมทุ่ง และต้นไม้ชายป่า เพื่อกำจัดวัชพืชและเปิดพื้นที่ทำการเกษตร เพราะเป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศจำนวนมาก นอกจากนั้นการตัดและเผาทำลายป่ายังเป็นการทำลายแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญ

49.ปลูกพืชผักให้หลากหลายและปลูกตามฤดูกาลในท้องถิ่น เป็นการลดการปลูกพืชผักนอกฤดูกาลที่ต้องใช้พลังงานเพื่อถนอมอาหาร และผ่านกระบวนการบรรจุเป็นอาหารกระป๋อง

50.รวมกลุ่มสร้างตลาดผู้บริโภค-ผู้ผลิตโดยตรงในท้องถิ่น เพื่อลดกระบวนการขนส่งผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่ต้องใช้พลังงานและน้ำมันในการคมนาคมขนส่งพืชผักผลไม้ไปยังตลาด

51.ลดการใช้สารเคมีในการเกษตร นอกจากจะเป็นการลดปัญหาการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์สู่บรรยากาศโลกแล้ว ในระยะยาวยังเป็นการลดต้นทุนการผลิต และทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น โปรดปรึกษาและเรียนรู้จากกลุ่มเกษตรกรทางเลือกที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย สถาปนิกและนักออกแบบ

52.ออกแบบพิมพ์เขียวบ้านพักอาศัยที่สามารถช่วย “หยุดโลกร้อน” การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยคิดถึงการติดตั้งระบบการใช้พลังงานที่ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสูงๆ แต่ใช้งานได้จริง ลองคิดถึงวิธีการที่คนรุ่นปู่ย่าใช้ในการสร้างบ้านสมัยก่อน ซึ่งมีการพึ่งพาทิศทางลม การดูทิศทางการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานในบ้านได้ถึง 40%

53.ช่วยออกแบบสร้างบ้านหลังเล็ก บ้านหลังเล็กใช้พลังงานน้อยกว่าบ้านหลังใหญ่ และใช้วัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างน้อยกว่า สื่อมวลชน นักสื่อสารและโฆษณา

54.ใช้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักกับสาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน และทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นของท้องถิ่น

55.สร้างความสนใจกับสาธารณชน เพื่อทำให้ประเด็นโลกร้อนอยู่ในความสนใจของสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง

56.ช่วยกันเล่าความจริงเรื่องโลกร้อน โปรดช่วยกันสื่อสารให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น

57.เป็นผู้นำกระแสของสังคมเรื่องชีวิตที่พอเพียง ต้นตอหนึ่งของปัญหาโลกร้อนก็คือกระแสการบริโภคของผู้คน ทำให้เกิดการบริโภคทรัพยากรจำนวนมหาศาล ชีวิตที่ยึดหลักของความพอเพียง โดยมีฐานของความรู้และคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงน่าจะเป็นหนทางป้องกันและลดปัญหาโลกร้อนที่สังคมโลกกำลังเผชิญหน้าอยู่

58.ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อร่วมรับผิดชอบสังคม ออกแบบงานโฆษณาที่สอดแทรกประเด็นปัญหาของภาวะโลกร้อนอย่างมีรสนิยม เรื่องที่เป็นจริงและไม่โกหกครู อาจารย์

59.สอนเด็กๆ ในขั้นเรียน เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน

60.ใช้เทคนิคการเรียนรู้หลากหลายจากกิจกรรม ดีกว่าสอนโดยให้เด็กฟังครูพูดและท่องจำอย่างเดียว นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร

61ค้นคว้าวิจัยหาแนวทางและเทคโนโลยีใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

62.ศึกษาและทำวิจัยในระดับพื้นที่ เพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อพื้นที่เสี่ยงของประเทศไทย

63.ประสานและทำงานร่วมกับนักสื่อสารและโฆษณา เพื่อแปลงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ไปสู่การรับรู้และเข้าใจของประชาชนในสังคมวงกว้าง นักธุรกิจ อุตสาหกรรมและบริการ

64.นำก๊าซมีเทนจากกองขยะมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วยการลงทุนพัฒนาให้เป็นพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพ แต่มีต้นทุนต่ำ

65.สนับสนุนนักวิจัยในองค์กร ค้นคว้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

66.เป็นผู้นำของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม หากยังไม่มีใครเริ่มต้นโครงการที่ช่วยหยุดปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง ก็จงเป็นผู้นำเสียเอง

67.สร้างแบรนด์องค์กรที่เน้นการดูแลและใส่ใจโลก ไม่ใช่แค่การสร้างภาพลักษณ์ภายนอก แต่เป็นการสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความรับผิดชอบที่มาจากภายในองค์กร นักการเมือง ผู้ว่าราชการฯ และรัฐบาล

68.วางแผนการจัดหาพลังงานในอนาคต รัฐจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อมุ่งจัดการแก้ไขปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มองไปข้างหน้าอย่างน้อยที่สุด 50 ปี

69.สนับสนุนให้มีการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัย และการพัฒนาระบบให้มีต้นทุนต่ำและคุ้มค่าในการใช้งาน

70.สนับสนุนกลไกต่างๆ สำหรับพลังงานหมุนเวียน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับปรุงเทคโนโลยีและการลดต้นทุน

71.สนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน รัฐบาลควรหามาตรการที่ชัดเจนในการสนับสนุนอุตสาหกรรมหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมพลังงานอื่นๆ ที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ

72.มีนโยบายทางการเมืองที่ชัดเจนในการสนับสนุนการ “หยุดภาวะโลกร้อน” เสนอต่อประชาชน 73.สนับสนุนโครงสร้างทางกายภาพ เมื่อประชาชนตระหนักและต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น จัดการให้มีโครงข่ายทางจักรยานที่ปลอดภัยให้กับประชาชนในเมืองสามารถขับขี่จักรยาน ลดการใช้รถยนต์

74.ลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัวบนถนนในกรุงเทพมหานครอย่างจริงจัง ด้วยการสนับสนุนระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ

75.ส่งเสริมเครือข่ายการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกรทางเลือก เกษตรกรจำนวนมากเป็นตัวอย่างที่ดีของการลดปัญหาโลกร้อน ด้วยการลดและเลิกการใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์สู่บรรยากาศโลก ซึ่งการส่งเสริมการตลาดสีเขียวด้วยการสร้างเครือข่ายการตลาดที่กระจายศูนย์ไปสู่กลุ่มจังหวัดหรือภูมิภาค จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการขนส่งผลผลิตไปยังตลาดไกลๆ *กด้วย 76.ริเริ่มอย่างกล้าหาญกับระบบพลังงานแบบกระจายศูนย์ เพื่อลงทุนกับทางเลือกและทางรอดในระยะยาว77.พิจารณาใช้กฎหมายการเก็บภาษีเป็นเครื่องมือในการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) สำหรับภาคอุตสาหกรรม

78.เปลี่ยนแปลงระบบการจัดเก็บภาษี นั่นคือการสร้างระบบการจัดเก็บภาษีที่สามารถสะท้อนให้เห็นต้นทุนทางอ้อมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งทำให้สังคมต้องแบกรับภาระนั้นอย่างชัดเจน เช่น ภาษีที่เรียกเก็บจากถ่านหิน ก็จะต้องรวมถึงต้นทุนในการดูแลรักษาสุขภาพที่จะต้องเพิ่มขึ้นจากปัญหามลพิษ และต้นทุนความเสียหายจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

79.ปฏิรูปภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นก้าวต่อไปที่ท้าทายของนักการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างใหญ่หลวงในการปรับเปลี่ยนและสร้างจิตสำนึกใหม่ให้สังคม การเพิ่มการจัดเก็บภาษีสำหรับกิจกรรมที่มีผลทำลายสภาพแวดล้อมให้สูงขึ้นเป็นการชดเชย เช่น กิจกรรมที่มีการปล่อยคาร์บอน ภาษีจากกองขยะ ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้ หลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรปตะวันตกนำแนวคิดนี้ไปใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ปัจจุบันนี้ประเทศใหญ่ๆ ในสหภาพยุโรปก็ร่วมดำเนินการด้วย และพบว่าการปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ไม่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนระดับการจัดเก็บภาษี หากแต่มีผลกับโครงสร้างของระบบภาษีเท่านั้น

80.กำหนดทิศทางประเทศให้มุ่งสู่แนวทางของการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ที่สามารถยืนหยัดอยู่รอดอย่างเข้มแข็งในสังคมโลก เริ่มต้นด้วยการใส่ประโยคที่ว่า ประเทศไทยจะต้องยึดหลักเศรษฐกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแกนหลักของการพัฒนาประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญได้หรือไม่

ที่มา : yenta4.com

รู้ทันพลังงาน

on 2009-06-17

*รู้ทันพลังงาน **

ดร.สุนีรัตน์ พิพัฒน์มโนมัย บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
*การกักเก็บคาร์บอนช่วยโลกร้อน*


*ใ*นขณะ ที่สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพื่อผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยยังมีข้อจำกัด และพลังงานนิวเคลียร์ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ส่วนราคาของน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นไม่หยุด ทำให้ต้นทุนการใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติสูงขึ้นด้วย

เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ถ่านหินจะเป็นทางเลือกสำคัญของเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินได้รับการพัฒนาให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ฝนกรดในอดีต และถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะถือได้ว่าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วย ไฟฟ้าที่ผลิตสูงที่สุด เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนหรือพลังงานนิวเคลียร์ที่ถือ ว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิ *(Net CO2 emission)* เป็นศูนย์ หรือเกือบศูนย์

แต่ด้วยเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน *(Carbon capture and storage)* ที่ได้นำมาประยุกต์ใช้กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน พบว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีศักยภาพ

*เทคโนโลยี การดักจับและกักเก็บคาร์บอนนี้ มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมอื่นมาเป็นเวลา
นาน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี เช่น การทำปุ๋ยและการทำความสะอาดก๊าซธรรมชาติที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เจือปน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้จะถูกส่งไปกักเก็บยังแหล่งกักกับทางธรณี ที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีความปลอดภัย ไม่เกิดการั่วไหลหรือเล็ดลอดในระดับที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิ่งแวด ล้อมและสุภาพชุมชน ซึ่งแหล่งกักเก็บเหล่านี้รวมถึงชั้นหินใต้ดินที่มีรูพรุน ใต้ทะเลลึกในแหล่งน้ำมันที่ไม่ใช้แล้ว หรือที่ใกล้จะหมดอายุ เพื่อกระตุ้นอัตราการผลิตน้ำมันจากบ่อ (Enhanced oil recovery)*

ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอนนี้ สามารถนำมาใช้ร่วมกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งแบบเผาไม้โดยตรงที่ผลิตไฟฟ้าแบบใช้ไอน้ำ และแบบ *IGCC* ได้ [บทความอ้างอิง : เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (ตอนที่ 1) ในโพสต์ทูเดย์ฉบับวันที่ 1 ต.ค.2550 และเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (ตอนจบ) ในโพสต์ทูเดย์ฉบับวันที่ 8 ต.ค. 2550]

อย่างไรก็ตาม การใช้ร่วมกับโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบแก๊สซิฟิเคชันต้องการเงินลงทุนและมีค่าใช้ จ่ายของระบบที่ต่ำกว่า ทั้งนี้เนื่องมาจากการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซไอเสียในโรงงาน ไฟฟ้าถ่านหินแบบเผาไหม้โดยตรง ซึ่งทำหลังจากกระบวนการกำจัดมลพิษต่าง ๆ ได้แก่ ออกไซด์ของซัลเฟอร์และไนโตรเจนนั้น ก๊าซไอเสียมีองค์ประกอบของไนโตรเจนสูงมาก *(ซึ่งเป็นผลมากการเผาไหม้ถ่านหิน โดยใช้อากาศที่มากเกินพอ ซึ่งมีองค์ประกอบของไนโตรเจนอยู่ประมาณ 80%)*

การแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงกระทำที่สภาวะความเข้มข้นและความดัน ต่ำ กล่าวคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะต้องถูกแยกออกจากก๊าซผสมที่มีปริมาตรสูงมาก ๆ จึงต้องใช้พลังงานสูงและมีราคาแพง แต่ในกรณีของโรงไฟฟ้าถ่านหินแบบแก๊สซิฟิเคชันนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงไฟฟ้า ที่ใช้ออกซิเจนหรือไอน้ำเป็นตัวทำปฏิกิริยาแทนอากาศก๊าซสังเคราะห์ที่ได้ จะมีการเจือจางโดยก๊าซไนโตรเจนน้อยมาก และหลังจากก๊าซสังเคราะห์ถูกทำให้เย็นลงและกำจัดมลพิษแล้ว จะผ่านกระบวนการทำปฏิกิริยากับไอน้ำอีกครั้ง เพื่อเพิ่มองค์ประกอบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไฮโดรเจน

การแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซผสมทำที่สภาวะความเข้มข้นและความ ดันสูง จึงทำให้กระบวนการแยกทำได้ง่ายกว่าระบบที่เป็นแบบเผาไหม้โดยตรงส่วนก๊าซที่ เหลือที่มีปริมาณไฮโดรเจนสูง ก็จะถูกเผาไม้ในโรงไฟฟ้าแบบผสมผสาน หรือ *IGCC (Integrated Gasification Combined Cycle)* เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า

หลังจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูแยกออกมาแล้ว จะผ่านการทำให้แห้ง อัดที่ความดันสูง และส่งไปยังแหล่งกักเก็บทางธรณี หากแหล่งกักเก็บอยู่ไกลมากทำให้เกิดแรงเสียดทานภายในท่อก๊าซระหว่างขนส่ง ก็จะต้องอัดซ้ำ เพื่อชดเชยกับความดันที่สูญเสียไปด้วยเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า ที่ใช้ร่วมกับการดักจับคาร์บอน ในปัจจุบันประสิทธิภาพในการดักจับอาจทำได้สูงถึง 85-95% ของปริมาณ CO2 ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ต้นทุนของการใช้ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอนสำหรับโรงไฟฟ้านั้นขึ้น อยู่กับประเภทของโรงไฟฟ้าระยะทางจากแหล่งกักเก็บก๊าซ ลักษณะของแหล่งกักเก็บก๊าซ โอกาสซื้อขายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น การเพิ่มการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและพลังงานที่ใช้ในการดักจับและกักเก็บ คาร์บอน เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าถ่านหินส่วนหนึ่งจะถูกนำมาใช้ในระบบดักจับ และกักเก็บคาร์บอน ทำให้ปริมาณถ่านหินที่ต้องใช้ต่อหนึ่งหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตนั้นสูงกว่า

*ใน กรณีที่ไม่มีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ผลิตไฟฟ้า แบบใช้ไอน้ำ ต้องใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้น 30% ในขณะที่โรงไฟฟ้าแบบ IGCC ที่ใช้ถ่านหินบิทูมินัสคุณภาพสูงเป็นเชื้อเพลิง ถ่านหินเพิ่มขึ้นไม่ถึง 20% ส่วนกรณีการใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำกว่า ได้แก่ ซับบิทูมินัสและลิกไนต์นั้น ยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจน*

แหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็มีผลต่อต้นทุนของการผลิตไฟฟ้า เช่นกัน ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จากการส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้า *IGCC*เพื่อไปกักเก็บในชั้นหินใต้ดิน ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้า 100 กิโลเมตร และไปกักเก็บยังแหล่งน้ำมัน ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าในระยะทางที่เท่ากัน ซึ่งพบว่า

ในกรณีแรก ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 40% เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนในกรณีหลังรายได้ชดเชยจากการเพิ่มการผลิตน้ำมัน ซึ่งเป็นผลมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกักเก็บ จะทำให้ต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าโดยสุทธิไม่เพิ่มขึ้น

ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกจะนำไปสู่การดักจับและกัก เก็บคาร์บอนไม่วันใดก็วันหนึ่งโดยที่โรงไฟฟ้าที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์อาจถูกบังคับให้ต้องเสียค่าปรับภายใต้มาตรการเข้มงวด ดังนั้นผู้ผลิตไฟฟ้าจึงควรเตรียมความพร้อมเพื่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ เพราะหากมีการปล่อยเกินระดับที่จำกัดไว้ ก็จะต้องซื้อเครดิตจากองค์กรอื่น ที่สามารถรักษาการปล่อยให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่จำกัด

ในการเลือกเทคโนโลยีโรงไฟฟ้า สำหรับโรงไฟฟ้าที่จะสร้างใหม่จึงควรพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระบบ ดักจับและกักเก็บคาร์บอน เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในระยะยาว ทั้งนี้การติดตั้งอุปกรณ์สำหรับดักจับและกักเก็บคาร์บอนเพิ่มเติมในภายหลัง จะมีต้นทุนที่สูงกว่า

หากระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอนกับโรงไฟฟ้าถ่านหินมีการใช้อย่าง แพร่หลาย ก็จะทำให้เราสามารถใช้เชื้อเพลิงถ่านหินต่อไปได้ โดยคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศยังคงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จากการศึกษาพบว่า หากสามารถลดมวลสารคาร์บอนที่เป็นผลพวงมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างหมดสิ้น การรักษาระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่ 450 ส่วนต่อ 1 ล้านส่วน โดยปริมาตรในอนาคต 50 ปี ดังที่เราทั้งหลายอยากให้เป็นก็มีความเป็นไปได้สูง

ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์